วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6 (12/12/56)

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเรื่อง

พัฒนาการ

  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

  1. โรคทางพันธุกรรม
  2. โรคของระบบประสาท
  3. ติดเชื้อ
  4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเเรกเกิด
  6. สารเคมี  ได้แก่ ตะกั่ว/แอลกอฮอล์/Fetal alcohol syndrome (FAS)/นิโคติน
  7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร 
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primtive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  1. การซักประวัติ
  2. ตรวจร่างกาย
  3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
  4. ประเมินพัฒนาการ

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4 (28/11/56)

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายความหมายของเด็กพิเศษ ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

ประเภทที่ 6 เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • เด็กที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งออกได้  2  ประเภท คือ
  1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
  2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก ได้แก่.
  • เด็กสมาธิสั้น  ( เรียกย่อยๆว่า ADHD )
  • เด็กออทิสติก หรือ ออทิสซึม
ประเภทที่ 7 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  • เรียกย่อๆว่า L.D.
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  • มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
  • ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
  • เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
  • มีปัญหาทางด้านการอ่าน เขียน
ประเภทที่ 8  เด็กออทิสติก
  • หรือ ออทิซึม
  • เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะของเด็กออทิสติก
  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบช้าๆ
  • ยึดติดวัตถุ
  • ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง และไร้เหตุผล
  • มีที่ทำเหมือนหูหนวก
  • ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างไปจากคนทั่วไป
ประเภทที่ 9 เด็กพิการซับซ้อน
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
     ต่อจากนั้น อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และให้ดูคลิปโทรทัศน์ครู เรื่องศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ แล้วสรุปเป็น Mind Map ลงในแผ่นกระดาษ A4 ที่อาจารย์แจกให้







วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3 (21/11/56)

วันนี้อาจารย์ได้อธิบาย ความหมายของเด็กพิเศษ  ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

ประเภทที่ 4  เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • เด็กที่มีอวัยวะที่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • มีปํญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบาก
   จำแนก 2 ประเภท 1. อาการบกพร่องทางร่างกาย  2. ความบกพร่องทางุขภาพ

ประเภทที่ 5 เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
          เด็กจะพูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น
  1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง ออกเสียงผิดเพี้ยงไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
  2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
  3. ความผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง ความดัง คุณภาพของเสียง
  4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิที่สมอง

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2 (14/11/56)

          วันนี้อาจารย์ได้สรุปคะแนนทั้งหมด ดังนี้
  1. จิตพิสัย   10  คะแนน
  2. งานเดี่ยว (วิจัย)   10  คะเเนน
  3. งานกลุ่ม (นำเสนอ)   20  คะแนน
  4. บันทึกอนุทินลง Blog   20  คะแนน
  5. โทรทัศน์ครู   10  คะแนน
  6. สอบกลางภาค   15  คะแนน
  7. สอบปลายภาค   15  คะแนน
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 9 คน 3 กลุ่ม / 10 คน 2 กลุ่ม โดยมีหัวข้อเรื่องที่ต้องทำ ดังนี้
  • เด็ก ซี.พี
  • เด็กดาวน์ซินโดรม
  • เด็กออทิสติก
  • เด็กสมาธิสั้น
  • เด็กแอลดี
กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อ เรื่อง เด็กออทิสติก

ต่อจากนั้น อาจารย์ได้อธิบาย ความหมายของเด็กพิเศษ
  1. ทางการเเพทย์ จะเรียกว่า "เด็กพิการ" เพื่อใช้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาเด็ก
                หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มัความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

    2.  ทางการศึกษา

                หมายถึง เป็นเด็กที่ต้องได้รับการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา กลักสูตร กระบวนการที่ใช้และกระประเมินผล

   สรุป
  • เด็ที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  • มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
  • จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
ประเภทของเด็กพิเศษ มี 10 ประเภท แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ
  1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
                มีความเป็นเลิศทางสติปํญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กสติปํญญาเลิศ"

    2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
             
               กระทรวงศึกษาธิการ ได้เเบ่งออกเป็น 9 ประเภท เพื่อความสะดวกในการคัดเลือกโรงเรียน
  1. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
  2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กบกพร่องทางการเห็น
  4. เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  5. เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  6. เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  7. เด็กที่มีปํญหาทางการเรียนรู้
  8. เด็กออทิสติก
  9. เด็กพิการซ้อน
ประเภทที่ 1 เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
           หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปํญญาหรือเชาว์ปํญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ 1. เด็กเรียนช้า  2. เด็กปัญญาอ่อน

ประเภทที่ 2 เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
          หมายถึง สูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ 1. หูตึง  2. หูหนวก

ประเภทที่ 3 เด็กบกพร่องทางการเห็น
  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  • สามารถเห็นได้ไมาถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้งไม่เกิน 30 องศา
   จำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1. เด็กตาบอด  2. เด็กตาบอดไม่สนิท

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1 (7/11/56)

          วันนี้เป็นวันเริ่มเรียนครั้งแรก ของวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์จึงให้นักศึกษาทำ Mind Map หัวข้อเรื่องเด็กพิเศษ โดยอาจารย์ให้นักศึกษาได้นำความรู้พื้นฐานที่นักศึกษามีเกี่ยวกับเด็กพิเศษมาสรุปลงใน  Mind Map  เพื่อทดสอบความรู้ว่านักศึกษาแต่ละคนมีความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากน้อยเพียงใด



 
 

จากนั้นอาจารย์ได้สั่งงาน คือ
  1. สะท้อนการเรียนลงบล็อค
  2. งานกลุ่ม แบ่งกลุ่มละ 10 คน
  3. งานเดียว งานวิจัย 1 เรื่องซ้ำได้ 2 คน